วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Facebook

หลังจากผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊ก (Facebook) มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ออกมาประกาศเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าในเฟสบุ๊กตามความกังวลของผู้ใช้ หน่วยงานที่ตรวจสอบดูแล และนักวิจารณ์ทั่วโลก ต่อไปนี้คือ 5 ที่จุดการตั้งค่าเวอร์ชันล่าสุดที่สมาชิกเฟสบุ๊กทุกคนควรรู้เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวบนเฟสบุ๊กได้ตามใจต้องการ

1. ประวัติส่วนตัว (PERSONAL PROFILE)

เหนือสิ่งอื่นใด สมาชิกเฟสบุ๊กทุกคนต้องท่องไว้ให้ขึ้นใจว่า ชื่อ เพศ และภาพในประวัติส่วนตัว จะเป็น 3 ข้อมูลพื้นฐานที่ต้องปรากฏสู่สายตาประชาชนเฟสบุ๊ก (หรืออย่างน้อยก็กลุ่มเพื่อน) โดยภาพประวัติและชื่อจะถูกแสดงแบบอัตโนมัติเมื่อมีการพิมพ์ข้อความแสดงความคิดเห็นบน "wall" หรือพื้นที่เฟสบุ๊กของใครก็ตาม ฉะนั้นรูปเถื่อน ดิบ ถ่อย อย่าเผลอเอาขึ้นเชียว

สิ่งที่สมาชิกเฟสบุ๊กสามารถทำได้คือการเลือกว่าใครจะสามารถเห็นข้อมูลอื่นๆในประวัติส่วนตัว (นอกเหนือจาก 3 ข้อมูลพื้นฐานข้างบน) เช่น สถานที่เกิด รายชื่อเพื่อน และงานอดิเรก

ก่อนจะไปตั้งค่า สมาชิกเฟสบุ๊กสามารถตรวจสอบสถานะความเป็นส่วนตัวที่มีอยู่ในปัจจุบันด้วยการคลิกที่คำว่า "Account" ซึ่งจะปรากฏอยู่มุมบนขวาของหน้าเฟสบุ๊ก จากนั้นจะมีดรอปดาวน์เมนู ให้เลือกที่ Privacy Settings

เมื่อเลือกแล้วจะปรากฏหน้าเพจ Basic Directory Information ให้คลิกที่ลิงก์ View Settings ซึ่งจะปรากฏในท้ายข้อความย่อหน้าแรก ก็จะสามารถตั้งค่าได้ว่าต้องการเปิดเผยประวัติส่วนตัวแก่ใคร

ข้อมูลประวัติส่วนตัวบางข้อมูลสามารถเก็บเป็นความลับเฉพาะไม่แบ่งใครก็ได้ โดยจะต้องเลือกที่ Customise ในเมนูดรอปดาวน์ และเลือกตั้งค่า "make this visible to" เป็น Only Me

2. การแบ่งปัน (SHARING ON FACEBOOK)

แน่นอนว่าสมาชิกเฟสบุ๊กทุกคนสามารถเลือกได้ตามใจชอบว่า ใครสามารถเห็นความเป็นคุณบนเฟสบุ๊กได้บ้าง โดยต้องตั้งค่าในส่วน "Sharing on Facebook" ซึ่งต้องเข้าทางหน้า Privacy Settings

ค่า Sharing on Facebook ที่เฟสบุ๊กแนะนำให้สมาชิกนั้นต้องยอมรับว่าค่อนข้างเปิดเผยมาก แต่ใน Sharing on Facebook สมาชิกจะสามารถเลือกเปิดเผยข้อมูลเฉพาะเพื่อน Friends Only หรือเลือก Customise Settings ซึ่งเป็นลิงก์ข้อความสีฟ้าตัวจิ๋วที่บริเวณท้ายสุดของหน้า เพื่อระบุขอบเขตผู้ชมที่เล็กลงกว่า

หน้า Customise Settings นี้เองที่สมาชิกเฟสบุ๊กสามารถ"ล็อก"ได้ว่าใครสามารถเห็นอีเมลแอดเดรส เบอร์โทรศัพท์มือถือ รวมถึงอนุญาตให้ใครสามารถเข้ามาเขียนข้อความที่ wall ได้บ้าง

สำหรับการเขียน status update หรือการโพสต์ข้อความอัปเดทสถานะแล้วต้องการล็อกให้สมาชิกบางคนเห็นเท่านั้น ก็สามารถคลิกที่สัญลักษณ์แม่กุญแจใต้กล่องข้อความ เพื่อตั้งค่าเป็นพิเศษได้

3. แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ (APPLICATIONS AND WEBSITES)

เพื่อการทำให้เฟสบุ๊กไม่รก สมาชิกสามารถเปิดหน้า Privacy Settings ซึ่งมีทางเข้าที่มุมซ้ายล่างของหน้าเพื่อลบแอปพลิเคชันขยะที่ไม่ต้องการออกได้ด้วยการคลิกที่ "remove unwanted or spam applications" ซึ่งสมาชิกจะสามารถเลือกให้เหลือแต่แอปพลิเคชันสุดโปรดอย่างเกม Farmville หรือ Bejeweled Blitz ได้

ที่น่าสนใจคือ สมาชิกเฟสบุ๊กทุกคนสามารถลบประวัติไม่ให้ใครค้นหาได้เจอด้วยการคลิกลิงก์ Edit Settings แล้วคลิก untick หรือยกเลิกการยินยอมให้ค้นหาพบโดยสาธารณะ

4. การปิดกั้นไม่ให้ใช้ (BLOCK LISTS)

สมาชิกเฟสบุ๊กสามารถปิดกั้นไม่ให้ใครก็ได้เข้ามาชมข้อมูลส่วนตัว หรือข้อความอัปเดทสถานะ อย่างไรก็ตามควรรู้ว่า คนที่ถูกบล็อกจะสามารถติดต่อกับผู้ที่บล็อกได้ผ่านเกมบางเกม และแอปพลิเคชันบางตัว

5. เลิกใช้เฟสบุุ๊ก (QUITTING FACEBOOK)

กรณีที่สมาชิกอยากลบข้อมูลตัวเองออกจากเครือข่ายสังคมอย่างเฟสบุ๊ก สามารถเข้าไปที่ Help Centre ที่มุมล่างขวาของหน้าเฟสบุ๊ก เพื่อยกเลิกการใช้งานชื่อบัญชีเฟสบุ๊กอย่างหมดจด

ผู้ที่ต้องการยกเลิกเฟสบุ๊กจะต้องพิมพ์ข้อความ "delete my account" ลงในแถบค้นหา เลือกคำถาม "I want to permanently delete my account" แล้วแสดงความต้องการลบชื่อบัญชีด้วยการคลิกที่ "here" ซึ่งปรากฏที่ปลายประโยค แล้วยืนยันคำขอด้วยการกด "submit"

แต่สำรับคนที่อยาก"พัก"ขอเวลาออกห่างเฟสบุ๊กระยะหนึ่ง ก็สามารถเลือกตั้งค่าที่ลิงก์ Account (มุมขวาของหน้าเฟสบุ๊ก) แล้วคลิกที่ Deactivate Account หลังจากกรอกแบบฟอร์มเล็กน้อยจากเฟสบุ๊ก เฟสบุ๊กจะทำการพักและเก็บรักษาแฟ้มประวัติไว้เพื่อรอวันที่สมาชิกจะกลับมา re-activate อีกครั้ง แต่ผู้ใช้รายอื่นจะไม่สามารถเปิดชมเฟสบุ๊กของสมาชิกรายนั้นได้

อีกข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลิกใช้เฟสบุ๊กคือ วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 53 (1 มิถุนายนในประเทศไทย) ถูกตั้งชื่อเรียกโดยกลุ่มคนออนไลน์ว่า Quit Facebook Day หรือวันเลิกใช้เฟสบุ๊กด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นคือสมาชิกเฟสบุ๊ก 31,000 ชื่อบัญชีทั่วโลกพร้อมใจกันตัดญาติกับเฟสบุ๊กด้วยการลบชื่อบัญชีออกเพื่อประท้วงว่าไม่เห็นด้วยกับมาตรการการรักษาข้อมูลส่วนตัวใหม่ในเฟสบุ๊ก โดยเฉพาะการกำหนดค่าเริ่มต้นที่เปิดเผยข้อมูลเสรีมาก ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่รู้ว่าต้องตั้งค่าความส่วนตัวใหม่นั้นสูญเสียความเป็นส่วนตัวไปและตกอยู่ในความเสี่ยง

ขณะนี้ เฟสบุ๊กมีสมาชิก 450 ล้านคน ราว 3.75 ล้านคนเป็นผู้ใช้งานในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 18-24 ปี (ขอบคุณข้อมูลจาก checkfacebook.com)

สำหรับไกด์ไลน์การตั้งค่าผู้ใช้เฟสบุ๊กทั้ง 5 ข้อนี้ ขอขอบคุณเนื้อหาและภาพประกอบจากบีบีซีนิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น