วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สุรา

สุราเมรัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุราที่วางขายในร้าน

สุรา (อังกฤษ: liquor หรือ spirit) หมายถึง น้ำเมาที่ได้จากการกลั่นสารบางประเภท อาทิ เอทิลแอลกอฮอล์ และเมรัย คือ นํ้าเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท เมื่อดื่มแล้วสารนั้นจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วน กลาง หากดื่มไม่มากอาจรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากสารกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเอง ทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น แต่เมื่อดื่มมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่น ๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด คู่กับ "เมรัย" อันเป็นเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์อย่างเดียวกัน แต่ผลิตจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท ทั้งสุราและเมรัยเรียกโดยภาษาปากว่า "เหล้า"

ประเทศต่าง ๆ ได้วางกฎเกณฑ์สำหรับการผลิต การขาย และการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่น กฎหมายที่กำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับผู้ที่สามารถบริโภคได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีสำหรับประเทศเยอรมันนี ฝรั่งเศส ออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์, ไม่ต่ำกว่า 18 ปีในประเทศไทย หรือไม่ต่ำกว่า 21 ปีในสหรัฐอเมริกา

การปริโภคทั้งสุราและเมรัยเป็นข้อห้ามในข้อสุราเมรยมัชปมาทัฏฐานหรือข้อที่ 5 แห่งเบญจศีลของพุทธศาสนา ซึ่งว่า "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ" แปลได้ว่า "เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท"

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การผลิต

การทำเมรัยอาศัยยีสต์ซึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กชนิดหนึ่งเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ เมรัยผลิตได้จากวัตถุดิบทุกอย่างที่มีน้ำตาล แต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เมรัยทำจากน้ำตาลโตนดเรียกว่าน้ำตาลเมาหรือตวาก จากน้ำตาลขององุ่นเรียกว่าไวน์ เป็นต้น มนุษย์ยังรู้จักใช้เชื้อรา (บางชนิด) เปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลได้ ทุกอย่างที่เป็นแป้ง เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ สามารถใช้ผลิตเมรัยได้ สาโท น้ำขาว อุ และ กระแช่ ผลิตจากแป้ง หากต้องการให้มีฤทธิ์แรงขึ้นก็นำเอาไปกลั่นเป็นสุรา หลังจากนั้นสามารถนำไปดื่มหรือนำไปหมักหรือบ่มต่อไป

[แก้] เภสัชวิทยาของเหล้า

เหล้ามีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แม้ว่าในเหล้าชนิดต่างๆยังมีสารอื่นๆที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์ของเหล้าชนิด นั้นๆ โดยเฉพาะเหล้าที่นำมาหมักดองกับสมุนไพรเพื่อปรุงแต่งสี กลิ่น รสชาติและสรรพคุณ เช่น เหล้าดองยาของไทย เหล้าเซี่ยงชุนของจีน เหล้าแคมปารี ของอิตาลี เป็นต้น สารปรุงแต่งเหล่านี้เมื่อดื่มในปริมาณมาก หรือ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ดื่มได้ แต่เมื่อดื่มในระยะเฉียบพลัน อาการต่างๆของผู้ดื่มนับได้ว่าเกิดจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น

แอลกอฮอล์เป็นของเหลว ใส ระเหยได้ง่าย ละลายน้ำได้ดี มีกลิ่นเฉพาะตัว และ ติดไฟได้ง่าย แอลกอฮอล์เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบไปด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ความรุนแรงของการออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับปริมาณของแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ในกระแส โลหิต แอลกอฮอล์ที่กินได้ คือแอลกอฮอล์ชนิดเอทิล ส่วนแอลกอฮอล์ชนิดอื่นล้วนกินไม่ได้และเป็นพิษต่อร่างกายมากยิ่งไปกว่าเอทิล ถ้าเอาแอลกอฮอล์ชนิดอื่น เช่น เมทิลแอลกอฮอล์มาผสมเป็นเหล้า กินเข้าไปแล้วทำให้ปวดหัว ตาพร่า จนบอด และถึงกับเสียชีวิตได้

เมื่อกินเหล้าเข้าไปผ่านกระเพาะอาหารไปสู่ลำไส้เล็ก แอลกอฮอล์ในเหล้าจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตและกระจายไปทั่วร่างกาย เมื่อกินอาหารมาก่อน แอลกอฮอล์ใช้เวลา 1 ถึง6 ชั่วโมง จึงจะถูกดูดซึมไปถึงระดับสูงสุดในเลือด แต่ถ้ากินเหล้าในขณะที่ท้องว่าง แอลกอฮอล์ใช้เวลาถูกดูดซึมสู่ ระดับสูงสุดในเลือด เพียง 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง แอลกอฮอล์ในร่างกายถูกกำจัดโดยตับเป็นส่วนใหญ่ (95 เปอร์เซ็นต์) ที่เหลือถูกขับออกทางลมหายใจ ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ น้ำนม และน้ำลาย

แอลกอฮอล์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เกิดการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย แอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำ ให้เกิดอาการอักเสบและเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ แอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ผู้ที่กินเหล้าจึงปัสสาวะบ่อย สูญเสียน้ำและรู้สึกกระหายน้ำมากในเวลาต่อมา อีกประการหนึ่ง บรรยากาศวงเหล้า ผนวกกับพลังงานที่ได้จากเหล้ามักทำให้ผู้ดื่มไม่รู้สึกอยากอาหาร ดังนั้นผู้ที่กินเหล้าเป็นนิจจึงอาจขาดสารอาหารได้ ที่สำคัญแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความเสียหายที่เนื้อตับ คนกินเหล้าจึงมีโอกาสเป็นตับอักเสบมากกว่าคนไม่กินและอาจพัฒนาไปถึงขั้นตับวายได้

[แก้] เหล้ากับสุขภาพ

มีความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับฤทธิ์ของเหล้าและแอลกอฮอล์ ถูกบ้างผิดบ้าง ผู้ที่นิยมดื่มก็มักอ้างฤทธิ์อันเป็นคุณของเหล้าหรือแอลกอฮอล์มาบดบังฤทธิ์ ที่ก่อให้เกิดโทษซึ่งมีมากกว่าหลายเท่านัก เช่น แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้จริงแต่ไม่สามารถทำลายไข่หรือตัวอ่อนของ พยาธิ์ที่ปะปนมากับกับแกล้มดิบๆสุกๆได้ และยิ่งไม่สามารถฆ่าพยาธิ์ตัวแก่ในลำไส้ได้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ผู้นิยมดื่มก็มักอ้างว่ากินเหล้าเพื่อให้เลือดลมดี ซึ่งก็เป็นจริงเมื่อกินเหล้าในปริมาณน้อย (ถึงน้อยมาก) แต่เมื่อกินเหล้ามาก แอลกอฮอล์จะกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้พูดจาไม่ชัด ทรงตัวลำบาก สายตาพร่ามัว ขาดสติ ตับแข็ง และอาจเกิดอันตรายนานับปการต่อผู้ดื่มและคนรอบข้าง

[แก้] เหล้ากับการเข้าสังคม

ระวังเข้าใจผิด ข้อความด้านล่างนี้เมื่อปฎิบัติแล้วไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

ถ้าจำเป็นต้องกินเหล้า (ผู้จะดื่มสุราล้วนอ้างความจำเป็นทั้งสิ้น) ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง ควรกินอาหารไปก่อน หรือกินกับแกล้มมากสักหน่อย ยาบางอย่างทำปฏิกิริยากับเหล้า อาจทำให้เหล้าเป็นพิษ หรือลดความแรงของตัวยา คนที่ไม่ใช่หมอ ยากที่จะรู้จักยาพวกนี้อย่างละเอียด ทางที่ดี ช่วงที่กินยาอยู่ก็งดเว้นกินเหล้า

[แก้] ประเภท

วัตถุดิบ ผลิตผลที่ทำโดยการหมัก (เมรัย) ผลิตผลที่ทำโดยการกลั่น (สุรา)
บาร์เล่ย์ เบียร์ เอล ไวน์บาร์เล่ย์ สก๊อตวิสกี้ ไอริชวิสกี้
ข้าวไรย์ เบียร์ข้าวไรย์ วิสกี้ข้าวไรย์ Roggenkorn (เยอรมัน)
ข้าวโพด เบียร์ข้าวโพด เหล้าข้าวโพด
ข้าวสาลี เบียร์ข้าวสาลี วิสกี้, Weizenkorn (เยอรมัน)
ข้าว เหล้าสาเก, sonti, makkoli, tuak, thwon โชจู อะวะโมะริ (ญี่ปุ่น) , โชยุ (เกาหลี) , หวงจิ่ว เชาจิ่ว (จีน)
ผลไม้ที่ไม่ใช่แอปเปิ้ลและลูกแพร์ ไวน์ (ส่วนใหญ่ทำจากองุ่น) บรั่นดี, คอนหยัก (ฝรั่งเศส) , Branntwein (เยอรมัน) , Pisco (ชิลี)
แอปเปิ้ล ("hard") เหล้าแอปเปิ้ล, apfelwein (เยอรมัน) บรั่นดีแอปเปิ้ล (or apple brandy) , Calvados, cider, lambig
ลูกแพร์ perry, or pear cider pear brandy
อ้อย, หรือ กากน้ำตาล basi, betsa-betsa (regional) เหล้ารัม, cachaça, aguardiente, guaro, โชยุ (ญี่ปุ่น)
ว่านหางจระเข้ pulque เตกีลา, mezcal
ลูกพลัม ไวน์พลัม slivovitz, tzuica, palinca
กากผลไม้ pomace wine tsipouro, raki, tsikoudia (กรีก) , grappa (อิตาลี่) , Trester (เยอรมัน) , marc (ฝรั่งเศส) , zivania (ไซปรัส)
น้ำผึ้ง เหล้าน้ำผึ้ง น้ำผึ้งหมัก
มันฝรั่ง หรือ ธัญพืช เบียร์มันฝรั่ง วอดก้า(โปแลนด์และเยอรมัน) ส่วน aquavit หรือ brännvin (สวีเดน) , akvavit (เดนมาร์ค) , akevitt (นอร์เวย์) , brennivín (ไอซ์แลนด์) ทำจากมันฝรั่งของไอร์แลนด์ , Poitín , โชชู (ญี่ปุ่น)
นม Kumis Araka

[แก้] อ้างอิง

  • Blue, Anthony Dias (2004). The Complete Book of Spirits: A Guide to Their History, Production, and Enjoyment. New York: HarperCollins Publishers, 324. ISBN 0-06-054218-7.
  • Forbes, Robert. Short History of the Art of Distillation from the Beginnings up to the Death of Cellier Blumenthal. Brill Academic Publishers; ISBN 90-04-00617-6; hardcover, 1997.
  • Multhauf, Robert, The Origins of Chemistry. Gordon & Breach Science Publishers; ISBN 2-88124-594-3; paperback, 1993.

คอนญัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Cognac Braastad XO

คอนญัก (Cognac) คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้มาจากการกลั่นเหล้าองุ่นที่หมักจนได้ที่ เก็บไว้ใน ถังที่ทำด้วยไม้โอ๊คเพื่อให้เหล้ามีอายุเก่าแล้วจึงนำมาบรรจุขวด และมาจากในเขตชารองต์ แคว้นปัวตู-ชารองต์ ประเทศฝรั่งเศส มีแหล่งผลิตสำคัญคือ

1. Grande Champagne หรือ Fine Champagne

2. Petite Champagne

3. Borderie

4. Fine Bois

5. Bons Bois

6. Bois ordinaires หรือ Bois de Terroir


[แก้] คุณภาพและอายุ

คอนญักบรรจุขวดจะมี จำนวนดาวที่ปรากฏบนฉลาก หมายถึง คุณภาพและอายุของเหล่านั้น[1]

  • 1 ดาว Fine อายุ 5-10 ปี
  • 2 ดาว Surfine อายุ 10 ปี
  • 3 ดาว Extra อายุ 10-15 ปี
  • X.O.(Extra Old, Extra Vieux) อย่างน้อย 40 ปี
  • V.O (Very old) 15-20 ปี
  • V.S.O. (very superior old) 25 ปี (Vieux Tres Superieur)
  • V.S.O.P. (very superior old pale) 30 ปี (Tres Superieur Vieux Peu Colore)

[แก้] อ้างอิง


เตกีลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขวดเตกีลาในแบบต่างๆ

เตกีลา (อังกฤษ: Tequila) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดกลั่น ดีกรีแรง เดิมนั้นผลิตกันในบริเวณเมืองเตกีลา (ในทางตะวันตกของรัฐฆาลิสโกของเม็กซิโก) โดยใช้วัตถุดิบ คือ อากาบี (agave) เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก ซึ่งเป็นจำพวกเดียวกับป่านศรนารายณ์ หรือ ว่านหางจระเข้ หรือดอกโคม เป็นพืชอวบน้ำโดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "มากเก" (Maguey) แต่เลือกเฉพาะพันธ์สีฟ้าเท่านั้น โดยลักษณะผลอาควอเว่จะมีลักษณะเหมือนผลสัปประรด ซึ่งผลหนึ่งจะมีน้ำหนัก 70 กก. ภายในจะมีเนื้อและน้ำฉ่ำซึ่งเหมาะแก่การหมัก โดยจะนำเอาผลไปคั้นเอาน้ำเพื่อนำไปหมัก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาการหมักประมาณสองวัน แล้วจึงนำไปกลั่นก็จะได้น้ำใสที่มีแอลอฮอล์ประมาณ 104 – 106 ปรู้ฟ โดยปรกติเตอกีล่าจะไม่มีการบ่มต่อ ซึ่งจะนำไปบรรจุขวดจำหน่ายได้เลย ซึ่งจะติดฉลากเป็น ไวท์เตอกีล่า ถ้าจะมีการหมักบ่มก็จะบ่มในถังไม้โอ้คที่ใช้แบบเดียวกันกับวิสกี้ ซึ่งจะได้เตอกีล่าที่มีสีเหลืองอำพัน ที่จะมีชื่อเรียกว่า โกลด์เตอกีล่า ระยะเวลาการบ่มจะทำให้เตอกีล่ามีชื่อเรียกตามอายุที่หมักบ่มว่า Anejo สำหรับเตอกีล่าที่บ่มอายุ 1 ปี และเรียก Muy Anejo สำหรับเตอกีล่าที่บ่มถึง 4 ปี เตอกีล่าจะมีแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 80 ปรู้ฟ หรือ 40ดีกรี สำหรับเหล้าเตอกีล่าที่มีการจำหน่ายและนักดื่มในบ้านเรารู้จักกันดี ได้แก่ Jose Cuervo และ मोंत्तेजुमा

บรั่นดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บรั่นดี (brandy ย่อมาจาก บรั่นดีไวน์ (brandywine) จากภาษาดัตช์ว่า brandewijn) บรั่นดีเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากากรกลั่นของการหมักน้ำผลไม้ต่างๆ หรือไวน์ต่างๆ เช่นองุ่น แอปเปิล แต่เมื่อผลิตจากผลไม้อื่นก็จะเรียกชื่อตามผลไม้นั้นๆ แต่ถ้าผลิตจากองุ่นก็จะเรียกบรั่นดี กรรมวิธีการผลิตโดยการหมักน้ำองุ่นแล้วนำมาต้มกลั่น แล้วนำไปบ่มต่อในถังโอ๊คซึ่งจะทำให้แอลกอฮอล์ที่มีอยู่เดิมลดลง และเมื่อยิ่งบ่มไว้นานแอลกอฮอล์ก็จะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ บรั่นดีบางตัวเมื่อบ่มเกิน 50 ปีขึ้นไปจะมีแอลกอฮอล์ลดลงต่ำกว่า 40 ดีกรี และเมื่อบรรจุขวดก็จะมีแอลกอฮอล์เพียง 36 ดีกรี อันจะทำให้บรั่นดีนั้นมีความพิเศษเฉพาะ และมีความสุขุม นุ่มนวลจากการเก็บบ่มอันยาวนานนั่นเอง ชื่อบรั่นดีนั้นจะใช้เรียกสำหรับเหล้าที่ผลิตจากองุ่น บรั่นดีอาจจะผลิตจากผลไม้อื่นๆก็ได้ซึ่งก็จะใช้ชื่อผลไม้นั้นเรียกแตกต่าง กันไป บรั่นดีหลายๆ ตัว ไม่ได้มีการหมักบ่มในถังโอ๊ค อันเนื่องจากลักษณะเฉพาะตัว เช่นสีใส รวมถึงบรั่นดีบางชนิดที่ไม่ได้ผลิตจากองุ่นที่ต้องการคงไว้ซึ่งรสชาติ กลิ่น อโรมาของตัวเอง ในบางประเทศ เช่นประเทศฝรั่งเศส ในแคว้นคอนยัค (Cognac) อมายัค (Armagnac) และ ควาลวาดอส (Calvados) ที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการผลิตบรั่นดีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ซึ่งบรั่นดีสามารถผลิตที่ไหนในโลกตราบใดเท่าที่ใช้องุ่นเป็นวัตถุดิบ เช่นที่ Douro valley ในประเทศโปรตุเกส Jerez de la Frontera ในประเทศสเปน

คอนยัค (Cognac) ซึ่งเป็นบรั่นดีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งหลายๆคนไม่เข้าใจความแตกต่างของชื่อคอนยัค (Cognac) และบรั่นดี (Brandy) ให้เข้าง่ายๆ คอนยัคก็คือบรั่นดี ซึ่งต้องผลิตจากองุ่นที่ปลูกในแคว้นคอนยัค ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิตก็จะต้องผลิตในคอนยัคเช่นเดียวกัน คอนยัคโดยส่วนหลักผลิตจากองุ่นพันธุ์แซง เอมีลียง (Saint-Émilion) คอนยัคจะบ่มทั้งในถังไม้โอ๊คเก่าและใหม่ โดยจะเปลี่ยนถ่ายจากถังใหม่สู่ถังเก่าเพื่อหมักบ่มต่อซึ่งจะได้กลิ่นและรส อันขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ของถังที่นำมาใช้บ่ม ระยะเวลาบ่มในขั้นตอนนี้ก็จะทำให้ได้คอนยัคชนิดต่างๆดังนี้ ชนิดธรรมดาที่มีชื่อเรียกว่า VS (very superior) เป็นคอนยัคสามดาว และเป็นคอนยัคในระดับธรรมดา มีอายุการบ่มไม่มากประมาณ 3-5 ปี ชนิดดีที่มีชื่อเรียกว่า VSOP (very special old pale) จะมีสีที่เข้มกว่า ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มสัญลักษณ์ตัวอักษรเพิ่มเข้าไปอีกเช่น F (fine) X (extra) คอนยัคนี้จะมีอายุการหมักบ่มจากที่ประมาณ 7-10 ปี ซึ่งจะมีรสชาติที่สุขุม นุ่มนวล กลิ่นจรุง มากกว่าระดับสามดาว ชนิดพิเศษที่ผ่านการหมักบ่มอันยาวนาน ที่มีน้อยและราคาแพง ซึ่งจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น Napoleon ของ Courvoisier หรือ Cordon Bleu ของ Martell หรือ Bras d’Or ของ Hennessy เป็นต้น คอนยัคชนิดนี้จะผ่านการบ่มอันยาวนานถึง 15-25 ปีเลยทีเดียว และจากการบ่มอันยาวนานนี้จะทำให้คอนยัคชนิดนี้มีความจรุงทั้งกลิ่นและรส รวมถึงมีแทนนิน (tannin) สูงที่ได้ไม้โอ๊ค คอนยัคชนิดนี้ยังมีชื่ออื่นๆ อีกเช่น XO (extra old) Extra Vielle Grand Reserve เป็นต้น

อมายัค (Armagnac) เป็นบรั่นดีอีกชนิดหนึงที่มีชื่อเสียงเป็นที่ชื่นชชอบไปทั่วโลก ผลิตจากองุ่นและผลิตอยู่ในแคว้นอมายัค ประเทศฝรั่งเศสเฉกเดียวกับคอนยัค มีสถานที่ผลิตสำคัญๆอยู่สามที่คือ Haut Armagnac Tènarèze และ Bas Armagnac โดยใช้พันธุ์คล้ายกันกับคอนยัคดือ Folle Blanche และ Baco 22A ซึ่งปลูกกันมากใน Saint-Émilion อมายัคจะบ่มในถังไม้โอ๊คดำ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องดื่มที่ได้จากกลั่นตัวอื่น แม้กระทั่งคอนยัคเองก็จะบ่มจากถังไม้โอ๊คขาว อมายัคจะมีการบ่มที่ยาวนานกว่าคอนยัค และสิ่งที่ไม่เหมือนคอนยัคอีกอย่างคืออมายัคจะมีการระบุปี (Vintage) อมายัคเองก็มีการแบ่งชนิดออกเป็น 3 ชนิดตามอายุการบ่มเช่นกัน อมายัคที่มีอายุบ่มน้อยที่สุดคือประมาณ 3 ปี และในระดับ VSOP จะบ่มนานประมาณ5-10 ปี และในระดับที่มีอายุการบ่ม 15-25 ปี จะเรียกว่า Hors d’Age หรือ Vieille Réserve นอกจากนี้ยังมีบรั่นดีอื่นๆ อีกเช่น Apple brandy ที่ผลิตจากแอปเปิ้ล รวมถึงCalvados จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีหลายชนิด เช่น Calvados du Pays d’Auge และ Eau-de-vie de Cidre

ฟรุตอูเดอวี (Fruit Eaux-de-Vie) ก็เป็นบรั่นดีที่ผลิตจากผลไม้ต่างๆ ซึ่งไม่ได้มีการบ่มในถังโอ๊ค เพราะฉะนั้นบรั่นดีชนิดนี้จึงมีสีใสและมีกลิ่น รสเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละตัวนั้นไป ฟรุตอูเดอวีจะผลิตกันมากในแถบยุโรป และอเมริกาเหนือ กรรมวิธีการผลิตทั่วไปก็จะมี 2 แบบ แบบแรกจากการหมักผลไม้ให้เกิดเป็นไวน์แล้วจึงนำไปกลั่น คล้ายกับกรรมวิธีของคอนยัค โดยหลักจะใช้เชอร์รี่ (cherry) พลัม (plum) และแพร์ (pear) และอีกกรรมวิธีซึ่งจะใช้ผลไม้ที่มีเปลือกอ่อนเช่นราสเบอร์รี่ (Raspberries) โดยจะนำผลไม้ไปแช่ในเหล้าที่มีแอลกอฮอล์สูง แล้วจึงนำไปกลั่น ฟรุตอูเดอวีที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยม จะได้จากผลไม้ต่างดังนี้

  1. เชอรรี่ (Cherry) Kirsch, Kirschwasser
  2. แพร์ (Pear) Poire Williams, Williams Birnenbrand
  3. ราสเบอร์รี่ (Raspberry) Framboise, Himbeergeist
  4. ลูกพลัมเหลือง (Yellow plum) Mirabelle, Mirabellewasser
  5. ลูกพลัมม่วง (Violet plum) Quetsch, Zwetschgenwasser, Slivowitz

วอดก้า (Vodka) เป็นสุรากลั่นไม่มีสี มันเป็นของเหลวใสเกือบทั้งหมดเป็นน้ำและเอทานอลซึ่งถูกกลั่นให้บริสุทธิ์ — มักจะกลั่นหลายรอบ — จากส่วนผสมหมักอย่างกากน้ำตาลของมันฝรั่ง ธัญพืช (โดยมากเป็นข้าวไรย์หรือข้าวสาลี) หรือหัวบีท และส่วนผสมจำนวนน้อยมาก ๆ จำพวกสารแต่งรสหรือสิ่งเจือปนที่หลุดรอดไป คำว่าวอดก้ามีที่มาจากคำภาษาสลาวิกว่า "voda" (woda, вода) ซึ่งหมายถึง "น้ำ"

วอดก้ามีแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 35-70% โดยปริมาตร ซึ่งเหล้าวอดก้าของรัสเซียจะมีอยู่ 40% จากข้อมูลของพิพิธภัณฑ์วอดก้าในเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย นักเคมี Dmitri Mendeleev พบว่า 38% เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด

แม้วอดก้าจะมีต้นกำเนิดมาจากยุโรป บริเวณประเทศโปแลนด์ ยูเครน และรัสเซีย มันก็เป็นที่นิยมดื่มในหลายแห่งทั่วโลก โดยใช้เป็นส่วนผสมในค็อกเทลสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ได้แก่ บรัดดีแมรี เดอะสครูไดรเวอร์ ไวต์รัสเซียน และ วอดก้ามาร์ตินี


แม่โขง เป็นยี่ห้อสุราของไทย เป็นสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรี เริ่มผลิต ปี พ.ศ. 2484 ที่โรงงานสุราบางยี่ขัน ปากคลองบางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก แขวงบางปูน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

สาโท หรือ น้ำขาว คือ สุราแช่ประเภทหนึ่ง ทำจากข้าวชนิดต่างๆ ที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้ง หรือเชื้อราและยีสต์ เพื่อเปลี่ยนแป้งในข้าวให้เป็นแอลกอฮอล์ โดยสาโทที่ผ่านกระบวนการหมักแล้วจะมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี [1]

สาโทเป็นเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ชนิดไวน์ข้าว (Rice Wine) ที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่น นิยมผลิตกันในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย อาทิ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย โดยจะมีชื่อเรียกต่างกันไป [2]

ในประเทศไทยนั้นจะนิยมผลิตสาโทเพื่อเป็นเครื่องดื่มในเทศกาล งานเลี้ยงต่างๆ ซึ่งสาโทที่ผลิตจะมีรสหวาน เพราะกระบวนการหมักยังไม่สิ้นสุด และจะเก็บไว้ไม่ได้นาน แต่บางพื้นที่จะหมักจนน้ำใสและมีตะกอน ซึ่งจะได้แรงแอลกอฮอล์สูงขึ้นจนสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น หรือนำไปกลั่นเป็นเหล้าขาว [3]

สาเก (「酒」 sake – สะเกะ?) เป็นคำเรียกของคำว่า "สุรา" ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถหมายถึงเหล้าได้หลายชนิด โดยทั่วไป สาเกจะหมายถึงเหล้าที่ทำมาจากข้าว ในขณะที่บางท้องที่จะหมายถึงเหล้าที่กลั่นจาก มันสำปะหลัง หรือ อ้อย หรือในบางครั้งจะหมายถึงโชชู หรือที่รู้จักในชื่อ 'วอดก้าญี่ปุ่น' ต้นกำเนิดของสาเกมีกล่าวไว้หลายทฤษฎี ได้แก่ นำเข้าจากจากประเทศจีนสู่ประเทศญี่ปุ่น หรืออีกทฤษฎีว่ามีต้นกำเนิดในญี่ปุ่นเอง คำว่า สาเก ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษมักจะเรียกผิดเป็น "สากี"

สุราขาว หรือ เหล้าขาว คือ สุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่งผสมปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำ กว่า 80 ดีกรีเป็นสุราที่ได้จากการควบคุมการหมักและกลั่นอย่างพิถีพิถัน มีการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตโดยห้องปฏิบัติการ วิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและได้รับการอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมน้ำที่นำมา ใช้ปรุงแต่ง ปรับดีกรีสุราเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากแร่ธาตุ จึงทำให้ได้น้ำสุราที่ใสรสชาติชวนดื่ม

เหล้าส้ม (ฝรั่งเศส: cointreau เควโตร, ควันโตร) เป็นเหล้าไร้สีที่ทำจากส้มของฝรั่งเศส นิยมนำมาทำ คอกเทล และใส่ในขนมเค้ก พุดดิ้ง เยลลี่ ของญี่ปุ่น

เหล้าพื้นบ้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขั้นตอนการทำเหล้าพื้นบ้านเพื่อจะได้เหล้าที่ ดี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ วัตถุดิบ แหล่งน้ำ เชื้อที่ใช้หมัก การต้มกลั่น การบรรจุ และการเก็บรักษา ที่สำคัญต้องมีความสะอาดในทุกขั้นตอน มิฉะนั้น เชื้อที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งปะปนมากับวัตถุดิบ น้ำ หรือมีอยู่แล้วในอากาศอาจทำให้เกิดการบูดเน่าได้

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ขั้นตอนการทำเหล้าพื้นบ้าน

[แก้] การคัดเลือกชนิดของข้าว

คนไทยใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบหลักในการทำเหล้า ส่วนใหญ่ใช้ข้าวเหนียว ธัญพืชชนิดอื่น เช่น ข้าวจ้าว ข้าวโพด หรือข้าวฟ่าง ก็ใช้ทำเหล้าได้เช่นกัน มีให้เห็นให้กินในหมู่ชาวเขาบางกลุ่ม ในท้องถิ่นที่มีน้ำตาลมาก ก็ใช้น้ำตาลจากต้นตาลหรือจากต้นมะพร้าวเป็นวัตถุดิบ เรียกว่าน้ำตาลเมา การคัดชนิดและคุณภาพของวัตถุดิบมีส่วนสำคัญในการกำหนดรสชาดของเหล้า การทำ “สาเก” ของญี่ปุ่น และการทำ “วิสกี้” ของฝรั่ง พิถีพิถันกับขั้นตอนนี้มาก ความนุ่มความแข็ง สี และ กลิ่น ของข้าว ล้วนมีผลต่อเหล้าที่ทำขึ้น คนไทยดูจะไม่ใคร่ใส่ใจนัก มีข้าวอย่างไรมากก็ใช้ข้าวอย่างนั้น ยกเว้นพวกที่ทำเหล้าขายเป็นล่ำเป็นสันนั่นแหละที่เอาจริงเอาจังกับการคัด เลือกชนิดของข้าว

[แก้] การทำให้ข้าวสุก

มักใช้วิธีนึ่ง การใช้ความร้อนทำให้ข้าวสุกนี้มีประโยชน์สองประการคือ เป็นการฆ่าเชื้อต่างๆที่ปะปนมากับข้าว และข้าวที่สุกแล้วก็ถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลและแอลกอฮอล์ได้ง่ายขึ้น ในการทำเหล้าจากผลไม้ก็สามารถใช้วิธีต้มเพื่อฆ่าเชื้อได้ แต่การต้มทำให้กลิ่นของผลไม้ระเหยไปบ้าง เปลี่ยนไปบ้าง จึงมักใช้สารบางอย่างใส่ลงไปเพื่อฆ่าเชื้อ สารดังกล่าวมีชื่อเรียกทางเคมีว่า โปตัสเซียมเมตาไบซัลไฟท์ซึ่งเมื่ออยู่ในน้ำจะก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มี ฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่อยู่ในน้ำนั้นได้ สารโปตัสเซียมเมตาไบซัลไฟท์นี้ต้องใช้ในปริมาณและเวลาที่เหมาะสมจึงจะสามารถ ฆ่าเชื้ออย่างได้ผลและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค( ประมาน 1 ใน 4 ช้อนโต้ะต่อน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ 1 ถึง 2 วัน)

[แก้] การทำลูกแป้ง

ลูกแป้งนี้มีส่วนผสมของข้าวเหนียวกับ พืชสมุนไพรหลายชนิด แตกต่างไปตามแต่ละท้องถิ่น พืชสมุนไพรเหล่านี้ได้แก่ หอม กระเทียม ข่า ดีปลี พริก เจตมูลเพลิงแดง ตะไคร้ โด่ไม่รู้ล้ม รากข่อย เทียนทั้งห้า (เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน) และ ดองดึง เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจคือ พืชสมุนไพรเหล่านี้มีสรรพคุณคล้ายคลึงกัน คือ บำรุงธาตุ ขับลม บางชนิดมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่คล้ายคลึงกันคือ สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อยีสต์ได้ การทำลูกแป้งนับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ เชื้อหมักที่อยู่ในลูกแป้งนั้นดิมก็มาจากธรรมชาติอาจจะมีอยู่ในอากาศหรือ ปะปนมากับส่วนประกอบสมุนไพรที่ใช้ทำลูกแป้ง สมุนไพรเหล่านี้ ด้านหนึ่งยินยอมให้เชื้อหมักที่ต้องการมีชีวิตอยู่ได้ อีกด้านหนึ่งต่อต้านการเจริญเติบโดของเชื้อที่ทำให้เกิดการบูดเน่า ส่วนข้าวเหนียวที่ใส่ลงไปในลูกแป้งนอกจากช่วยให้ส่วนประกอบต่างๆเกาะเป็น ก้อนแล้ว ยังเป็นอาหารสำหรับเชื้อหมักในลูกแป้งด้วย เมื่อทำลูกแป้งได้ครั้งหนึ่งแล้ว คราวต่อไปก็เอาลูกแป้งเก่านี้แหละเป็นส่วนผสมเพื่อทำลูกแป้งชุดใหม่เรื่อยไป

[แก้] การใส่เชื้อหมัก

ในการทำเหล้าจากผลไม้ นิยมใช้เชื้อยีสต์สายพันธุ์เฉพาะ จะใช้ยีสต์ที่ใช้ทำขนมปังก็ได้ แต่ไม่นิยมเพราะทำให้เกิดก๊าซมากและรสชาดไม่สู้ดี ส่วนเชื้อที่ใช้หมักกับข้าว คนไทยทำขึ้นในรูปของลูกแป้งขนาด ประมาณปลายหัวแม่มือ นำลูกแป้งไปบดให้ละเอียดแล้วคลุกเคล้ากับข้าวที่นึ่งสุกและเย็นลงดีแล้ว หมักส่วนผสมในตุ่ม หรือโอ่ง เป็นเวลา 3 – 5 วัน ในขั้นตอนนี้ แป้งที่อยู่ในข้าวจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล จากนั้นเติมน้ำลงไปประมาณ 2 เท่าของข้าวแล้วทิ้งไว้อีก 5 – 7 วัน เพื่อให้ยีสต์เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ กรองเอากากข้าวออก (ไปใช้เลี้ยงหมู) ก็จะได้สุราแช่ขุ่นขาว ที่เรียกว่าน้ำขาว หรือ สาโท ซึ่งมีรสหวาน แต่เมื่อหมักนานยิ่งขึ้นน้ำตาลก็ถูกเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์มากขึ้น รสหวานจะน้อยลงและเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์จะเพิ่มขึ้น

[แก้] การเก็บ

ถ้าต้องการเก็บสาโทไว้กินนานๆ ก็ต้องทำการฆ่าเชื้อ อาจใช้ความร้อนหรือใช้สารโปตัสเซียมเมตาไบซัลไฟท์ แล้วบรรจุในขวดหรือไหที่สะอาด ปิดจุกหรือผนึกให้เรียบร้อย และถ้าต้องการให้สาโทมีลักษณะใส ก่อนบรรจุขวด หรือ ไห ต้องทิ้งให้ตกตะกอนเสียก่อน ซึ่งใช้เวลานานหลายเดือน ในปัจจุบันสามารถทำให้สุราแช่ใสได้โดยการกรองแบบพิเศษหรือเติมสารบางอย่างลง ไป

[แก้] การกลั่นสาโท

เมื่อนำสาโทไปกลั่นก็จะได้เหล้ากลั่น กระบวนการกลั่นก็คือการต้มน้ำให้เป็นไอ แล้วให้ไอน้ำนี้ไปกระทบกับความเย็นเพื่อกลั่นตัวกลับคืนเป็นหยดน้ำอีกครั้ง หนึ่ง ของเหลวต่างๆมีจุดเดือดที่ อุณหภูมิไม่เท่ากัน แอลกอฮอล์มีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำ เมื่อเราต้มสาโท ในตอนแรกๆเราจะได้ไอของสาโทที่มีปริมาณแอลกอฮอล์มาก แล้วค่อยๆลดลง จนท้ายสุดจะเป็นไอของน้ำอย่างเดียว ดังนั้นเหล้าที่กลั่นได้ในขวดแรกๆจะมีความแรงมาก อาจถึง 60 ดีกรี แล้วค่อยๆลดลง จนท้ายสุดชิมดูก็ไม่รู้สึกว่าเป็นเหล้า คนต้มเหล้ามักนำเอาเหล้าที่ได้ทุกขวดผสมกัน เพื่อเฉลี่ยความแรง ซึ่งระดับที่นิยมกัน อยู่ที่ประมาณ 30 – 40 ดีกรี เหล้าที่ได้จากการต้มกลั่นนี้ สามารถเก็บไว้ได้นานๆโดยไม่บูดเน่า เพราะมีปริมาณแอลกอฮอล์สูง นอกจากใช้ดื่มเพื่อความรื่นเริงแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ในพิธีกรรมหลายอย่าง บทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งของเหล้ากลั่นก็คือ ใช้เป็นตัวทำละลายตัวยาในตำรับยาพื้นบ้าน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าใช้ดองเหล้า ทั้งนี้เพราะตัวยาหลายอย่างที่มีอยู่ในสมุนไพร ไม่สามารถละลายในน้ำได้ แต่ละลายได้ในแอลกอฮอล์

[แก้] การยกระดับการทำเหล้าแบบพื้นบ้าน

ในการทำเหล้าแบบพื้นบ้าน โดยทั่วไปแล้ว มีข้อจำกัดใหญ่ๆ 4 ประการดังนี้คือ

  1. ขนาดของเครื่องมือ เครื่องใช้ อาคารสถานที่ และ การได้มาซึ่งวัตถุดิบ เหมาะสมกับ การผลิตในปริมาณไม่มากนัก พูดง่ายๆก็คือเป็นการผลิตเพื่อรองรับการกินการใช้ในครัวเรือนหรือหมู่บ้าน เท่านั้น ถ้าจะผลิตให้มากกว่านี้ ปัจจัยที่กล่าวมาแล้วข้างต้นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจไม่ใช่แค่เพิ่มจำนวนหรือปริมาณ แต่อาจต้องเปลี่ยนคุณภาพของปัจจัยนั้นด้วย
  2. ขาดการควบคุมคุณภาพ ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต สินค้าที่ได้จึงมีคุณภาพไม่คงที่ ไม่สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสินค้าได้ ไม่สามารถควบคุมความสะอาด ความเป็นระเบียบ และความสม่ำเสมอของขั้นตอนการผลิตได้แน่นอน
  3. ขาดความเข้าใจในกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เช่นกฏระเบียบต่างๆ การเสียภาษี การจดทะเบียนการค้า การจดทะเบียนกิจการ การจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  4. ขาดความคิดสร้างสรรค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ปรัปรุงรสชาด สี กลิ่น ความขุ่นใสของเหล้า ปรับปรุงวิธีการและภาชนะที่ใช้บรรจุ เป็นต้น

การที่จะยกระดับการทำเหล้าแบบพื้นบ้านให้ได้นั้น ย่อมต้องคำนึงถึงข้ออ่อนเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น

  • เมื่อต้องการหมักหรือต้มกลั่นเหล้าปริมาณมากขึ้นควรหมักในภาชนะใดจึงจะ เหมาะสมและไม่ก่อพิษมากไปกว่าเดิม ถังพลาสติกหรือภาชนะโลหะที่ถูกกัดกร่อนได้ล้วนไม่เหมาะสม
  • กระบวนการฆ่าเชื้อจะใช้ต้ม นึ่ง หรือสารเคมี ต้องสอดคล้องกับปริมาณของวัตถุดิบ
  • การหมักต้องใช้เวลานานเพียงพอที่จะทำให้เหล้าหมักที่ได้หมดกลิ่นส่า และ เกิดการตกตะกอนจนได้เหล้าที่ใส แต่ต้องคำนึงถึงความสะอาดด้วย จึงจะไม่เกิดการเปลี่ยนสภาพ
  • เมื่อเหล้ากลั่นไม่มีกลิ่นและรสชาดที่พอใจ อาจใช้การกลั่นซ้ำ 2 – 3 ครั้ง แล้วเจือจางด้วยน้ำรสชาดดี ให้ได้ดีกรีแอลกอฮอล์ที่ต้องการ
  • ต้องมีอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพที่เหมาะสม เช่น เครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ และในกรณีของสุราแช่ หรือสาโท ยังต้องมีเครื่องวัดความหวาน วัดความขุ่นใส วัดสี อีกด้วย
  • ต้องศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจัดการให้สอดคล้องกับระดับการผลิต เช่น เรื่องการจดทะเบียนกิจการ โรงงาน การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต การเสียภาษี การจัดการสิ่งแวดล้อม
  • ต้องปรับปรุงขวดหรือภาชนะที่ใช้บรรจุ บ้านเมืองของเรามีความหลากหลายในเรื่องนี้มาก อาจใช้เป็นไหดินเผาเคลือบแบบโอ่งราชบุรี หรือเป็นแบบเซรามิกที่ สวยงาม ล้วนได้ทั้งสิ้น จุกจะเอาอย่างไร ไม้คอร์กบ้านเราไม่มีใช้ไม้ชนิดอื่นหรือวัสดุอื่นได้หรือไม่ การห่อหุ้มภาชนะอีกชั้นหนึ่งด้วยกระดาษที่ทำจากวัสดุพื้นบ้านก็ช่วยเพิ่ม มูลค่าสินค้าและส่งเสริมการผลิตพื้นบ้านอย่างอื่นอีกด้วย
  • ถ้าทำเหล้าขายเป็นล่ำเป็นสัน ต้องหมั่นสำรวจความคิดเห็นของคนซื้อคนกินด้วย แล้วนำมาปรับปรุงเพื่อให้ได้เหล้าที่มีกลิ่นและรสชาดถูกใจผู้กิน อยู่ในขวดสวยงามต้องตาผู้ซื้อ

[แก้] กฎหมายกับการทำเหล้าพื้นบ้าน

กฎหมายที่สำคัญได้แก่ พ.ร.บ. สุรา 2493 ซึ่งมีอยู่ 47 มาตรา สาระสำคัญอันหนึ่งของกฎหมายนี้คือการปิดกั้นการทำเหล้าของผู้มีทุนน้อย เปิดโอกาสให้กับผู้มีทุนมากตั้งโรงงานผลิตสุรา ผูกขาดการขาย จับกุมผู้ผลิตสุราที่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ รวมถึงการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัสดุ อุปกรณ์ ลูกแป้งในการทำเหล้า ก็ผิดกฎหมายนี้ทั้งสิ้น แต่การเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.บ. สุรา 2493 นี้ แล้วยอมให้ผู้คนทำเหล้าอย่างเสรีโดยไม่มีกฏระเบียบใดๆมาควบคุมเลย ไม่น่าจะเป็นคุณ ทั้งในด้านความปลอดภัยต่อประชาชนคนดื่ม และในด้านภาษีที่ต้องเสียให้แก่รัฐ นี่ยังไม่รวมทั้งผู้ผลิตรายเก่าที่มีความพร้อมมากกว่าก็สามารถเข้ามาแข่งขัน ได้ สุดท้ายประชาชนคนทำเหล้าพื้นบ้านก็ไม่อาจแข่งขันได้ แนวทางที่น่าจะเป็นคือ มีกฎหมายคุ้มครองการผลิตสุราพื้นบ้านขึ้นมาทดแทน พ.ร.บ. สุรา 2493 จุดประสงค์ของกฎหมายใหม่นี้ก็คือ เปิดโอกาสให้การทำเหล้าพื้นบ้านดำรงอยู่และพัฒนาต่อไปได้ โดยใช้มาตรการทางภาษีเป็นตัวควบคุม เช่นถ้าทำเหล้ากินหรือใช้ประกอบพิธีกรรมในครัวเรือนไม่ต้องเสียภาษี ถ้าทำขายในชุมชนเสียในอัตราหนึ่ง ทำขายนอกชุมชน หรือ นอกเขต หรือทั่วประเทศเสียอีกอัตราหนึ่ง จะเป็นแบบอัตราก้าวหน้าก็น่าจะดี เพื่อป้องกันการได้เปรียบของผู้มีทุนมาก

[แก้] ทรัพย์สินทางปัญญาในการทำเหล้า

กระบวนการต้มเหล้า ถ้าเป็นแบบที่รู้และทำกันทั่วไป ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ ต่อเมื่อเป็นการคิดวิธีใหม่ หรือมีการดัดแปลงบางอย่างเพื่อให้ได้ผลดีขึ้น จึงจะสามารถจดสิทธิบัตรได้

เมื่อสามารถทำเหล้าได้อย่างถูกกฎหมายแล้ว ถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในกระบวนการ เข้าข่ายข้างต้น เช่น สูตรลูกแป้ง ส่วนผสมของเหล้า เครื่องต้มกลั่น ก็สามารถจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ ส่วนขวดหหรือภาชนะบรรจุ ก็จดสิทธิบัตรการออกแบบได้ ดังนี้แล้วผู้อื่นก็ไม่สามารถลอกเลียนความคิดของเราไปใช้ได้ การที่คนทำเหล้าในปัจจุบันใช้ขวดของเหล้าหรือเบียร์ของผู้อื่น นอกจากจะขาดความสง่างามแล้ว เจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นอาจฟ้องร้องได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรการ ออกแบบของเขา (ในกรณีที่เขาจดสิทธิบัตรการออกแบบขวดไว้) ทางที่ดีออกแบบขวดของเราเองดีกว่า ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าก็ต้องออกแบบและจดทะเบียนให้เป็น เอกลักษณ์ของเราเองด้วย ต่อไปเมื่อ กฎหมายเกี่ยวกับความลับทางการค้าและ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สามารถบังคับใช้ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้อีกด้วย สรุปได้ว่า ถ้าจะทำเหล้า ก็ต้องคิดเรื่องคุณภาพและกฎหมายด้วยแล้วกัน


แฟลร์บาร์เทนเดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แฟลร์บาร์เทนเดอร์ (flair bartender) หรือ แฟลร์บาร์เทนดิง (flair bartending) หรือบางทีเรียกสั้นๆว่า แฟลร์ คือ การทำงานของบาร์เทนเดอร์ที่แสดงให้ผู้ใช้บริการเพลิดเพลินกับการจัดการเครื่องมือบาร์ ขวดเหล้า และอื่นๆ ที่ถูกใช้ในการผสม เครื่องดื่ม คอกเทล การแสดงเหล่านี้ผู้แสดงจะต้องมีความชำนาญ ปัจจุบันการแสดงส่วนมากจะพบเห็นได้ในการแข่งขันหรือ บาร์ที่มีการสนับสนุนให้ได้รับการแสดงจากสถานประกอบการหรือ หัวหน้าเท่านั้น การแข่งขันส่วนมากจะได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากบริษัทเหล้า และสมาคมที่พัฒนาเทคนิคทางด้าน Flair बर्तेंदर

แถมให้อีกหนึ่งชุดครับ

Alcoholic Beverages Definitions

บรั่นดี(Brandy)คือผลิตภัณฑ์ที่กลั่นจากไวน์แต่ถ้าเรียกว่า บรั่นดี Brandy” คำเดียวจะหมายถึงบรั่นดีที่ต้องกลั่นจากไวน์องุ่นเท่านั้นหรืออาจเรียกอีกนัยหนึ่งว่าบรั่นดีองุ่น(Grape Brandy) บรั่นดีสามารถกลั่นจากไวน์ผลไม้นานาชนิดก็ได้แต่ต้องเรียกชื่อผลไม้ชนิดนั้นด้วยเช่น เชอรี่บรั่นดี,พลัมบรั่นดี เป็นต้น

บรั่นดี ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักระดับโลกคือ คอนยัค(Cognac) ซึ่งกลั่นจากไวน์องุ่นที่ปลูกในแคว้นคอนยัค ประเทศฝรั่งเศส เท่านั้น

อามายัค(Armagnac)ซึ่งกลั่นจากไวน์องุ่นที่ปลูกในแคว้นอามายัค ประเทศฝรั่งเศส เท่านั้น

แกรปป้า(Grappa) คือบรั่นดีที่กลั่นจากไวน์องุ่นของอิตาลี

คาลวาโดส(Calvados) คือแอปเปิ้ลบรั่นดีจากประเทศฝรั่งเศส

Kirsch คือ เชอรรี่บรั่นดี

Slivowitz คือ พลัมบรั่นดี

วิสกี้(Whisky) คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากธัญพืช(Grain) ซึ่งมีขบวนการหมักคล้ายเบียร์หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า วิสกี้คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่กลั่นจากเบียร์

ชนิด ของธัญพืชที่ใช้ในการผลิต คุณภาพและชนิดของน้ำ กรรมวิธีในการกลั่น ดีกรี ระยะเวลาในการบ่ม ชนิดของไม้ที่ใช้บ่ม จะมีผลต่อความแตกต่างของชนิดและคุณภาพของวิสกี้ ทั้งสิ้น

วอดก้า(Vodka) โดยส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบที่เป็นธัญพืช(grain) หรือมันฝรั่ง แต่ก็สามารถใช้โมลาส หรือวัตถุดิบอื่นๆก็ได้ แต่ ถ้าผลิตจากธัญพืชขบวนการผลิตก็จะเหมือนวิสกี้ แต่วิสกี้จะมีสี มีกลิ่น มีรส ส่วนวอดก้าจะเป็นเหล้าที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่มีรส ซึ่งขบวนการผลิตวอดก้าจะมีเทคนิคเฉพาะและแตกต่างอยู่ 2 อย่างคือ เทคนิคการกลั่นเพื่อให้ได้ดีกรีสูงและขบวนการกำจัดกลิ่นภายหลังจากการกลั่น

รัม(Rum) คือเหล้าที่กลั่นจากการหมักจากผลิตภัณฑ์ของอ้อยเช่น น้ำอ้อย น้ำตาลทราย หรือโมลาส เท่านั้น

เตกิล่า(Tequila) คือการนำเอาลูกอากาเว่(Agave) ซึ่งมีลักษณะคล้ายปาล์มน้ำมัน มาต้มและเอาน้ำมาหมักกับยีสต์แล้วนำมากลั่น

นิวทรัล สปิริต(Neutral Spirit) คือเหล้าที่ได้จากการหมักของธัญพืชหรือวัตถุดิบอื่นๆ แต่นำมากลั่นให้มีดีกรีสูงกว่า 95% ซึ่งใกล้เคียงกับแอลกอออล์บริสุทธิ

ยิน(Gin) คือเหล้ากลั่นที่ได้จากการหมักของ ธัญพืช หรือมอลล์ของข้าวบาร์เล่ย์หรืข้าวไรย์ และต้องมีกลิ่นจูนิเปอร์(Juniper)

ลิเคียวหรือคอเดียล(Liqueurs/ordials) คือ เหล้าที่ผสมระหว่างนิวทรัล สปิริตหรือ บรั่นดีหรือวิสกี้หรือเหล้าชนิดอื่นๆกับกลิ่นธรรมชาติหรือสังเคราะห์และ น้ำตาล 2।5% ขึ้นไป(ตามกฎของอเมริกา)
Thanks। www.chaopraya.biz



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น